Amazon ไม่ใช่ของใคร เป็นของ ปตท. ที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทย

คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จุดเริ่มต้นมาจากแนวความคิด เมื่อก่อนในปั๊ม ปตท. ไม่มีธุรกิจเสริมเท่าไร จะมีร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในบางแห่ง เป็นการเติมเต็ม และให้ผู้บริโภคมีทางเลือกจึงผลักดันแบรนด์คาเฟ่ อเมซอน ขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนเดินทางให้กับทุกท่าน


โดยชื่อและแนวคิด คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) มีที่มาจาก แหล่งกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก คือประเทศบราซิลซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งกาแฟ ผนวกกับเมื่อคิดถึงป่า Amazon ก็จะคิดถึงความร่มรื่นของธรรมชาติอันประกอบด้วยแมกไม้และเสียงน้ำไหลที่ให้ความร่มเย็น Café Amazon มีแนวคิดที่อยากให้เป็นร้านกาแฟที่สามารถนั่งพักผ่อนระหว่างการเดินทาง หรือเป็นแหล่งนัดพบของกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่นิยมดื่มกาแฟที่มีรสชาติอร่อยเข้มข้น พร้อมบรรยากาศเย็นสบายด้วยร่มไม้ล้อมรอบ

ส่วนใหญ่เป็นร้านแฟรนไชส์ ด้วยหลักการที่ว่า ให้เจ้าของปั๊ม หรือ ดีลเลอร์น้ำมันเป็นผู้บริหารร้านคาเฟ่ อเมซอนเอง หมายความว่า ร้านที่ ปตท.บริหารเองมีสัดส่วนน้อยมาก ที่เหลือเป็นเจ้าของแฟรนไชส์บริหารเอง ซึ่งจริงๆ แล้วตรงนี้ เหมือนกับเป็นการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี อีกหนึ่งข้อที่เราพบคือ ในธุรกิจคาเฟ่ อเมซอน ยังสามารถสร้างงานให้กับคนได้อีกมาก

โดยการขายแฟรนไชส์จริงๆ มี 2 กรณีคือ ถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ในปั๊มนั้น เจ้าของปั๊มต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ถ้าเป็นนอกปั๊มบุคคลทั่วไปสนใจสามารถซื้อแฟรนไชส์ได้เข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์คาเฟ่ อเมซอน www.cafe-amazon.com ซึ่งรายละเอียดครบ โดยหลักการคือ ต้องมีความพร้อมเรื่องทำเล และสำคัญที่สุดมีความตั้งใจ มีเวลาดูแลธุรกิจ เพราะธุรกิจกาแฟจริงๆ แล้วเป็นเรื่องการให้บริการ สมมติว่า ถ้าไม่มีเวลาจะไม่ได้ประโยชน์และความสามารถสูงสุด

วัตถุดิบคุณภาพจากโครงการหลวง เป็นที่มาของวัตถุดิบ-กำลังโรงคั่วกาแฟนั้น คาเฟ่ อเมซอนเป็นธุรกิจครบวงจรต้นน้ำไปเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการปลูกกาแฟ โดยร่วมกับโครงการหลวงส่งเสริมเกษตรกร รวมไปถึงมีคาเฟ่ อเมซอนมีโรงคั่วกาแฟอยู่ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เน้นคุณภาพ และมาตรฐาน โดยใช้เทคโนโลยีจากเยอรมนีและกำลังเพิ่มเติมทำศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจกาแฟ Amazon Inspiring Campus: AICA

ธุรกิจคาเฟ่ อเมซอน อยู่ในส่วนธุรกิจเสริม ปตท. ธุรกิจหลักของ ปตท. คือ พลังงาน แต่วันนี้ธุรกิจคาเฟ่ อเมซอนกลายเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมปั๊มน้ำมัน ให้มีบริการครบวงจร วันนี้ สังเกตดูถ้าปั๊มไหนมีร้านคาเฟ่ อเมซอนปั๊มนั้นจะสวย แนวคิดคือ ให้คาเฟ่ อเมซอนส่งเสริมภาพลักษณ์ภายในปั๊ม เรายังพยายามให้เจ้าของร้านใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสวน เพื่อต้องการให้เป็นจุดพักผ่อน ต้องดูแลพนักงานหน้าร้านให้สามารถส่งความสุขให้ลูกค้า โดยเจ้าของต้องใส่ใจดูแล และใกล้ชิด เป็นส่วนหนึ่งช่วยส่งเสริมเกษตรกร

นอกจากนั้น เป้าหมายของคาเฟ่ อเมซอนวันนี้ เป็นกาแฟของคนไทย เราเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมเกษตรกร คิดว่า การส่งเสริมเกษตรกรเป็นการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจด้วย ได้รับความร่วมมือจากโครงการหลวงค่อนข้างดี โครงการหลวงเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจกาแฟ ต้องชม ตลอดจนเรายังสามาถตอบโจทย์สามารถตอบแทนคืนสู่สังคม มั่นใจว่า คาเฟ่ อเมซอน แบรนด์ไทยแท้ 100%

ธุรกิจกาแฟสดไม่หมู อัตราแข่งขันสูงเราพบว่า วันนี้ มีแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามาในธุรกิจกาแฟสดในประเทศไทยค่อนข้างมากรวมถึงกาแฟแบรนด์ไทยเองก็มีการปรับตัวค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะวันนี้ เรามีกาแฟอินดี้เกิดขึ้นมาก มีกาแฟคนไทยเกิดขึ้นหลากหลาย นับว่าเป็นสิ่งที่ดี วันนี้ ธุรกิจกาแฟมีการเติบโตต่อเนื่อง จะเป็นการแข่งขันกันเอง เพื่อให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ให้ลูกค้าได้เลือกสิ่งที่ดีๆ ได้ ตรงนี้ผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการทานกาแฟได้หลากหลายมากขึ้น ทำให้การดื่มกาแฟของคนไทยสามารถเลือกได้หลากหลายมากขึ้น และขยายตลาดสู่ ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น นำ Brand ไทยสู่ Brand โลก

เรื่อง cafe amazon ควรรู้
  • เป็นธุรกิจที่พัฒนาโดย ปตท. 100%
  • เปิดแฟรนไชส์ให้เจ้าของปั๊มหรือเอกชนรายย่อยลงทุน
  • ซื้อเมล็ดกาแฟจากโครงการหลวงและเกษตรกรไทย
  • มีโรงคั่วของตนเอง เปิดเป็นทางการ ปี 2559
  • มี 1,500 สาขา(2559) สร้างงานและพัฒนา Barista กว่า 7,500 คน
  • สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและผลิตผลเมล็ดกาแฟ ช่วยเกษตกรเพิ่มรายได้
  • ได้รับความนิยมจากชาวไทยและต่างชาติ 
  • ขยายตลาดสู่ ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น นำ Brand ไทยสู่ Brand โลก

องค์กรโปร่งใสนานาชาติจัดให้ ปตท. ติดกลุ่มท็อป 25 หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าโปร่งใสที่สุด

องค์กรโปร่งใสนานาชาตินำ 100 บรรษัทมาจัดอันดับด้านความโปร่งใสอินเดียคะแนนสูงสุด บรรษัทจีนต่ำสุด ไทยมี 3 บริษัทติด Top 25 ทั้งอินโดรามา,ไทย ยูเนียน โฟรเซน และ ปตท. ส่วนกลุ่มซีพีอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายโปร่งใส่อันดับ 93 ได้ 0.6 จาก 10 คะแนน

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)รายงานความโปร่งใสประจำปี 2016 ของบรรษัทใหญ่ระดับโลก (Transparency in Corporate Reporting: Assessing Emerging Market Multinationals) โดยสำรวจ 100 บรรษัทในประเทศเศรษฐกิจใหม่ 15 ประเทศที่ไม่เพียงแต่ทำธุรกิจในประเทศตัวเองแต่ยังออกไปทำธุรกิจนอกประเทศ 185 ประเทศทั่วโลกถือได้ว่าบรรษัทเหล่านี้เกิดความล้มเหลวในด้านความโปร่งใส,มีการคอร์รัปชั่นพร้อมกับเรียกร้องให้หยุดคอร์รัปชั่นที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ
จากการสำรวจพบว่า 75 % ของ 100 บรรษัทใหญ่เหล่านี้ทำคะแนนได้น้อยกว่า 5 จาก 10 คะแนนหรือได้เฉลี่ยเพียง 3.4 เท่านั้นถือว่าความโปร่งใส่ลดลงไปอีก 0.2 คะแนน เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งสุดท้ายในปี 2013  สำหรับคะแนนที่ถือว่าโปร่งใสน้อยที่สุดคือศูนย์ (0) และโปร่งใสมากที่สุดคือ สิบ(10)
นายโฮเซ่ ยูกาซ ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ กล่าวว่าจุดระดับที่น่าสงสารความโปร่งใสของบรรษัทในตลาดเกิดใหม่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าบรรษัทเหล่านี้ห่วงใยกับการหยุดคอร์รัปชั่นหรือไม่ หยุดความยากจนที่บรรษัทเหล่านี้ไปทำธุรกิจและช่วยลดความไม่เสมอภาคหรือไม่ อีกทั้งเราพบว่าการคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นในบรรษัทนานาชาติ
พร้อมกับยกตัวอย่างบริษัท  Odebrecht Group หรือกลุ่ม China Communications Construction Company ที่เข้าไปทำลายเศรษฐกิจของท้องถิ่น
“บรรรษัทต่างๆบอกว่าต้องการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นแต่เรื่องนี้ไม่พอเพียง การกระทำต่างหากที่จะเสียงดังกว่าคำพูด”นายยูกาซกล่าว
บรรษัทจากกลุ่มประเทศ BRICS 75 บริษัท  (Brazil, Russia, India, China และ South Africa)ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรษัทจากจีนเข้ามาดึงให้ทั้งกลุ่มได้คะแนนที่ต่ำลง  ทั้งนี้บรรษัทจากกลุ่มบริกส์เมื่อรวมกันแล้วเป็นประเทศที่มีจีดีพี (GDP) 30 % ของโลก
บรรษัทจากประเทศจีนคิดเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มทำคะแนนได้น้อยเฉลี่ย 1.6 จาก 10 คะแนน  มีพียงบรรษัทเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่ม top 25 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรษัทจีนจะต้องยกระดับให้ได้มาตรฐานนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเร็วๆนี้รัฐบาลจีนประกาศลงทุน 60 พันล้านดอลลาร์ในทวีปแอฟริกา เงินเหล่านี้จะต้องจ้างบรรษัทจีนเข้าไปให้บริการ
ขณะเดียวกันกลุ่มบรรษัทประเทศจากอินเดียได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดในบรรดาประเทศต่างๆ 75 % ของบรรษัทอินเดียมีความโปร่งใสมากที่สุด 
สำหรับบรรษัทจากไทย 3 รายติดกลุ่มท็อป 25 หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าโปร่งใสประกอบด้วยบรรษัท โดยติดอันดับที่ 20 , 21 และ 22 ตามลำดับ
  • อินโดรามา เวนเจอร์  (Indorama Venture) 5.6 คะแนน
  • ไทย ยูเนียน โฟรเซน โพรดัคส์ (Thai Union Frozen Products) 5.5 คะแนน
  • ปตท. (PTT) 5.4 คะแนน
ขณะที่กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ( CP Groups ) ได้  0.6 จาก 10 คะแนนอยู่ในกลุ่มสิบอันดับสุดท้าย คือได้อันดับที่ 93 จากทั้งหมด 100 บริษัทในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
บริษัทเหล่านี้ได้รับการประเมินจากข้อมูลหลายด้าน เช่น โครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทลูก บริษัทร่วมทุน และบริษัทในเครือรวมถึงข้อมูลการเงินของธุรกิจที่อยู่บริษัทไปเปิดในต่างประเทศ
สำหรับแนวที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้นั้นบรรษัทจะต้องมีโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยใช้วิธีการเรียกตบทรัพย์ (bribery)เป็นเครื่องมือหรือใช้ระบบคนแจ้งเหตุ (whistleblowers)รายงานการคอร์รัปชั่นให้สาธารณะทราบโดยไม่หวั่นเกรง วิธีการนี้ถือเป็นการแจ้งเหตุไปยังลูกค้า,สต๊าฟงานและหุ้นส่วนของบรรษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าบรรษัทมีนโยบายโปร่งใส่  
นายยูกาซกล่าวว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องมีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเข้มข้นเช่นสหราชอาณาจักรมี UK Bribery Act และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายที่เอาจริงเอาจังเช่นสหรัฐฯดำเนินการ รวมทั้งการวางกฎเกณฑ์ต่างๆของบรรษัทให้ชัดเจน
รายละเอียดเพิ่มเติมรวมทั้งคะแนนต่างๆเข้าไปดูได้
https://issuu.com/transparencyinternational/docs/2016_transparencyincorporatereporti?e=2496456/37122985
Insider trading at CP All: Foreign investors demand action
http://www.bangkokpost.com/learning/work/801656/insider-trading-at-cp-all-foreign-investors-demand-action