ผู้บริหาร ปตท. ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เปิดใจ เคลียร์ปมร้อน ข้อกล่าวหาผู้ตรวจการแผ่นดิน
• จากประเด็นที่ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า มีอดีตประธาน บมจ.ปตท. เขียนจดหมายข่มขู่ส่วนตัวถึงตน ซึ่งมีเนื้อหาขอให้หยุดหาเรื่องตรวจสอบ ขุดคุ้ยประเด็นของ บมจ.ปตท. คืนท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบ ทาง บมจ.ปตท. ได้ทำการตรวจสอบดูแล้วไม่พบว่ามีใครกระทำในลักษณะเช่นที่กล่าวมา หรืออาจจะตรวจสอบดูไม่หมดก็ได้ เพราะที่ผ่านมา ปตท. มีประธานกรรมการหลายคน แต่สิ่งที่ตรวจพบคือ จดหมายอย่างเป็นทางการจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ซึ่งในขณะนั้นคือ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นจดหมายชี้แจง ว่า บมจ.ปตท. ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทาง บมจ.ปตท. เองก็อยากรู้เช่นกันว่า อดีตประธาน บมจ.ปตท. ที่เขียนจดหมายส่วนตัวส่งไปนั้นคือใคร
• จากประเด็นที่คณะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. ฟ้องร้อง บมจ.ปตท. นั้น เป็นเรื่องที่ซ้ำซากและวกวน โดยคดีที่ น.ส.รสนา และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องเมื่อปี 2549 เป็นเรื่องของการเพิกถอนการแปรรูป บมจ.ปตท. ซึ่งเหมือนกับที่ได้ทำกับ กฟผ. มาแล้ว ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาออกมาแล้วเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 50 ว่า ไม่เพิกถอนการแปรรูป บมจ.ปตท. แต่ให้มีการแก้ไข โดยการโอนที่ดินบางส่วนที่ได้มาจากการริดรอนสิทธิที่ดินเอกชนและใช้เงินของรัฐ ในสมัยที่ บมจ.ปตท. ยังเป็นการปิโตรเลียมอยู่คืนให้กับรัฐ ส่วนท่อก๊าซฯ ศาลตัดสินว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องมีการคืนบางส่วนไปด้วย นอกจากนี้ ยังให้มีการคืนอำนาจมหาชนที่อยู่ใน บมจ.ปตท.
• ศาลได้มีการวินิจฉัยแล้วว่า การคืนทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ถูกต้องแล้ว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 51 และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 59 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยออกมา ว่า คดีท่อก๊าซฯ ที่ น.ส.รสนาไปยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อปี 2558 นั้น บมจ.ปตท. ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ส่งคืนท่อก๊าซฯ ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากที่ตรวจสอบดูสำนวนคำฟ้องของ น.ส.รสนา แล้วพบว่า มีการแนบหนังสือของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่า บมจ.ปตท. ยังคืนท่อก๊าซฯ ไม่ครบ ยังเหลือท่ออีก 68,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้คืน แต่คืนไปแล้ว 15,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 53,000 ล้านบาท หลังจากที่ศาลตัดสินได้ 3 วันนั้น ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และมีการนำข้อมูลที่ น.ส.รสนายื่นฟ้อง บมจ.ปตท. เมื่อปี 2558 มายื่นฟ้องต่อศาลปกครองอีกครั้ง
• ท่อก๊าซฯ ทั้งหมดที่ บมจ.ปตท. มีเท่าไรนั้น ศาลได้รับข้อมูลทั้งหมดในช่วงการพิจารณาคดีตั้งแต่ปี 2549-2550 นอกจากนี้ ศาลยังทราบดีว่า บมจ.ปตท. มีอำนาจในการกำหนดเขตที่จะวางท่อก๊าซฯ ตาม พ.ร.บ. แต่การกำหนดเขตวางท่อก๊าซฯ ของ บมจ.ปตท. ไม่ใช่การรอนสิทธิ์ที่ดินของเอกชน ไม่ใช่การเวียนคืนที่ดินทุกแนวท่อ เพราะไม่ได้ใช้เงินของรัฐทุกแนวทาง จากข้อมูลที่ สตง. ได้ยืนยันมาตลอดก่อนหน้านี้ คือ ประเด็นที่ บมจ.ปตท. ยังได้คืนท่อก๊าซฯ ในทะเล ซึ่งไม่ใช่มูลค่า 68,000 ล้านบาท ซึ่งมีความไม่ตรงกันกับข้อมูลของประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
• อย่างไรก็ตาม บมจ.ปตท. จะคืนท่อก๊าซฯ หรือไม่ หรือคืนแค่ไหนนั้น ก็ควรยึดตามคำวินิจฉัย คำพิพากษาของศาล บมจ.ปตท. ไม่สามารถที่จะปฏิบัติอย่างอื่นได้ นอกจากนี้ในข้อตกลงระหว่าง บมจ.ปตท. และกรมธนารักษ์ในเรื่องการโอนที่ดินและท่อก๊าซฯ มีการเขียนไว้ว่า หากมีที่ดินและท่อก๊าซฯ บางส่วนที่ยังไม่ได้คืน สามารถบังคับให้คืนในภายหลังได้ และ บมจ.ปตท. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด จะปฏิบัติเกินกว่าคำสั่งศาลไม่ได้
• กรณีนายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวหาว่า คณะกรรมการ บมจ.ปตท. มีผลประโยชน์ทับซ้อน และรายได้ปีละหลายล้านบาทนั้น สาเหตุที่มีข้าราชการนั่งเป็นกรรมการ บมจ.ปตท. หลายท่าน เนื่องจาก บมจ.ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ โดย ก.คลัง ถือหุ้น 51% และกองทุนวายุภักษ์ ถือหุ้นอีก 14.9% ข้าราชการ ก.พลังงาน ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายด้านพลังงาน และยังทำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นของรัฐในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอย่าง บมจ.ปตท. ดังนั้น ตนจึงมองว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องมีข้าราชการของ ก.พลังงาน หรือ ก.คลัง เข้ามาเป็นกรรมการ บมจ.ปตท. หรือกิจการอื่นๆ ของรัฐที่รัฐบาลถือหุ้นในฐานะผู้ถือหุ้น
• ที่ผ่านมา ก.พลังงาน ได้พิจารณาจัดสรรไม่ให้ข้าราชการของ ก.พลังงาน เข้ามาเป็นกรรมการของ บมจ.ปตท. ในตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการของ บมจ.ปตท. เช่น ให้ใบอนุญาตตั้งสถานีบริการน้ำมัน หรือการกำหนดราคา และไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตำแหน่งข้าราชการใน ก.พลังงาน
• กรณีข้อกล่าวหาที่ระบุว่า ในปี 2557 กรรมการ บมจ.ปตท. ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 4.7 ล้านบาทนั้น จากการที่ตนได้ไปตรวจสอบข้อมูลพบว่า ไม่เป็นความจริงอย่างที่มีการกล่าวหา โดยในปี 2557 กรรมการ บมจ.ปตท. ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย 2.9 ล้านบาท และในปี 2558 ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย 1.7 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ถือว่า กรรมการ บมจ.ปตท. ไม่ได้มีค่าตอบแทนสูงแต่อย่างใด
• กรณีมีรายชื่อ นอมินี ในทะเบียนผู้ถือหุ้นของ บมจ.ปตท. นั้น ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ลงทุนต่างชาติที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เมื่อมาลงทุนในต่างประเทศก็จะให้ธนาคารต่างๆ เป็นตัวแทนจัดการผลประโยชน์ ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวก ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ในกองทุนนั้นๆ มีใครบ้าง จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีนักการเมืองถือหุ้น บมจ.ปตท. ผ่านกองทุนเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับของบริษัทชั้นนำอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ของ บมจ.ปตท. ถือว่ามีน้อยมาก
• กรณีข้อกล่าวหาที่ระบุว่า บมจ.ปตท. ยักยอกเงินกองทุนน้ำมันฯ มาอุดหนุนกำไรให้กับ บมจ.ปตท. นั้น ตนขอชี้แจงว่า นโยบายด้านพลังงาน และการกำหนดราคาพลังงาน เป็นอำนาจของรัฐบาล โดยรัฐบาลจะใช้กลไกต่างๆ ในการควบคุม เช่น การใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยค่าขนส่ง เพื่อให้ราคาก๊าซแอลพีจีในแต่ละพื้นที่มีราคาเท่ากัน โดย บมจ.ปตท. ไม่ได้รับกำไรจากการอุดหนุนค่าขนส่งส่วนนี้แต่อย่างใด
• จากประเด็นที่ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า มีอดีตประธาน บมจ.ปตท. เขียนจดหมายข่มขู่ส่วนตัวถึงตน ซึ่งมีเนื้อหาขอให้หยุดหาเรื่องตรวจสอบ ขุดคุ้ยประเด็นของ บมจ.ปตท. คืนท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบ ทาง บมจ.ปตท. ได้ทำการตรวจสอบดูแล้วไม่พบว่ามีใครกระทำในลักษณะเช่นที่กล่าวมา หรืออาจจะตรวจสอบดูไม่หมดก็ได้ เพราะที่ผ่านมา ปตท. มีประธานกรรมการหลายคน แต่สิ่งที่ตรวจพบคือ จดหมายอย่างเป็นทางการจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ซึ่งในขณะนั้นคือ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นจดหมายชี้แจง ว่า บมจ.ปตท. ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทาง บมจ.ปตท. เองก็อยากรู้เช่นกันว่า อดีตประธาน บมจ.ปตท. ที่เขียนจดหมายส่วนตัวส่งไปนั้นคือใคร
• จากประเด็นที่คณะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. ฟ้องร้อง บมจ.ปตท. นั้น เป็นเรื่องที่ซ้ำซากและวกวน โดยคดีที่ น.ส.รสนา และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องเมื่อปี 2549 เป็นเรื่องของการเพิกถอนการแปรรูป บมจ.ปตท. ซึ่งเหมือนกับที่ได้ทำกับ กฟผ. มาแล้ว ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาออกมาแล้วเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 50 ว่า ไม่เพิกถอนการแปรรูป บมจ.ปตท. แต่ให้มีการแก้ไข โดยการโอนที่ดินบางส่วนที่ได้มาจากการริดรอนสิทธิที่ดินเอกชนและใช้เงินของรัฐ ในสมัยที่ บมจ.ปตท. ยังเป็นการปิโตรเลียมอยู่คืนให้กับรัฐ ส่วนท่อก๊าซฯ ศาลตัดสินว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องมีการคืนบางส่วนไปด้วย นอกจากนี้ ยังให้มีการคืนอำนาจมหาชนที่อยู่ใน บมจ.ปตท.
• ศาลได้มีการวินิจฉัยแล้วว่า การคืนทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ถูกต้องแล้ว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 51 และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 59 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยออกมา ว่า คดีท่อก๊าซฯ ที่ น.ส.รสนาไปยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อปี 2558 นั้น บมจ.ปตท. ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ส่งคืนท่อก๊าซฯ ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากที่ตรวจสอบดูสำนวนคำฟ้องของ น.ส.รสนา แล้วพบว่า มีการแนบหนังสือของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่า บมจ.ปตท. ยังคืนท่อก๊าซฯ ไม่ครบ ยังเหลือท่ออีก 68,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้คืน แต่คืนไปแล้ว 15,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 53,000 ล้านบาท หลังจากที่ศาลตัดสินได้ 3 วันนั้น ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และมีการนำข้อมูลที่ น.ส.รสนายื่นฟ้อง บมจ.ปตท. เมื่อปี 2558 มายื่นฟ้องต่อศาลปกครองอีกครั้ง
• ท่อก๊าซฯ ทั้งหมดที่ บมจ.ปตท. มีเท่าไรนั้น ศาลได้รับข้อมูลทั้งหมดในช่วงการพิจารณาคดีตั้งแต่ปี 2549-2550 นอกจากนี้ ศาลยังทราบดีว่า บมจ.ปตท. มีอำนาจในการกำหนดเขตที่จะวางท่อก๊าซฯ ตาม พ.ร.บ. แต่การกำหนดเขตวางท่อก๊าซฯ ของ บมจ.ปตท. ไม่ใช่การรอนสิทธิ์ที่ดินของเอกชน ไม่ใช่การเวียนคืนที่ดินทุกแนวท่อ เพราะไม่ได้ใช้เงินของรัฐทุกแนวทาง จากข้อมูลที่ สตง. ได้ยืนยันมาตลอดก่อนหน้านี้ คือ ประเด็นที่ บมจ.ปตท. ยังได้คืนท่อก๊าซฯ ในทะเล ซึ่งไม่ใช่มูลค่า 68,000 ล้านบาท ซึ่งมีความไม่ตรงกันกับข้อมูลของประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
• อย่างไรก็ตาม บมจ.ปตท. จะคืนท่อก๊าซฯ หรือไม่ หรือคืนแค่ไหนนั้น ก็ควรยึดตามคำวินิจฉัย คำพิพากษาของศาล บมจ.ปตท. ไม่สามารถที่จะปฏิบัติอย่างอื่นได้ นอกจากนี้ในข้อตกลงระหว่าง บมจ.ปตท. และกรมธนารักษ์ในเรื่องการโอนที่ดินและท่อก๊าซฯ มีการเขียนไว้ว่า หากมีที่ดินและท่อก๊าซฯ บางส่วนที่ยังไม่ได้คืน สามารถบังคับให้คืนในภายหลังได้ และ บมจ.ปตท. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด จะปฏิบัติเกินกว่าคำสั่งศาลไม่ได้
• กรณีนายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวหาว่า คณะกรรมการ บมจ.ปตท. มีผลประโยชน์ทับซ้อน และรายได้ปีละหลายล้านบาทนั้น สาเหตุที่มีข้าราชการนั่งเป็นกรรมการ บมจ.ปตท. หลายท่าน เนื่องจาก บมจ.ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ โดย ก.คลัง ถือหุ้น 51% และกองทุนวายุภักษ์ ถือหุ้นอีก 14.9% ข้าราชการ ก.พลังงาน ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายด้านพลังงาน และยังทำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นของรัฐในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานอย่าง บมจ.ปตท. ดังนั้น ตนจึงมองว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องมีข้าราชการของ ก.พลังงาน หรือ ก.คลัง เข้ามาเป็นกรรมการ บมจ.ปตท. หรือกิจการอื่นๆ ของรัฐที่รัฐบาลถือหุ้นในฐานะผู้ถือหุ้น
• ที่ผ่านมา ก.พลังงาน ได้พิจารณาจัดสรรไม่ให้ข้าราชการของ ก.พลังงาน เข้ามาเป็นกรรมการของ บมจ.ปตท. ในตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการของ บมจ.ปตท. เช่น ให้ใบอนุญาตตั้งสถานีบริการน้ำมัน หรือการกำหนดราคา และไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตำแหน่งข้าราชการใน ก.พลังงาน
• กรณีข้อกล่าวหาที่ระบุว่า ในปี 2557 กรรมการ บมจ.ปตท. ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 4.7 ล้านบาทนั้น จากการที่ตนได้ไปตรวจสอบข้อมูลพบว่า ไม่เป็นความจริงอย่างที่มีการกล่าวหา โดยในปี 2557 กรรมการ บมจ.ปตท. ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย 2.9 ล้านบาท และในปี 2558 ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย 1.7 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ถือว่า กรรมการ บมจ.ปตท. ไม่ได้มีค่าตอบแทนสูงแต่อย่างใด
• กรณีมีรายชื่อ นอมินี ในทะเบียนผู้ถือหุ้นของ บมจ.ปตท. นั้น ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ลงทุนต่างชาติที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เมื่อมาลงทุนในต่างประเทศก็จะให้ธนาคารต่างๆ เป็นตัวแทนจัดการผลประโยชน์ ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวก ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ในกองทุนนั้นๆ มีใครบ้าง จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีนักการเมืองถือหุ้น บมจ.ปตท. ผ่านกองทุนเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับของบริษัทชั้นนำอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ของ บมจ.ปตท. ถือว่ามีน้อยมาก
• กรณีข้อกล่าวหาที่ระบุว่า บมจ.ปตท. ยักยอกเงินกองทุนน้ำมันฯ มาอุดหนุนกำไรให้กับ บมจ.ปตท. นั้น ตนขอชี้แจงว่า นโยบายด้านพลังงาน และการกำหนดราคาพลังงาน เป็นอำนาจของรัฐบาล โดยรัฐบาลจะใช้กลไกต่างๆ ในการควบคุม เช่น การใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ชดเชยค่าขนส่ง เพื่อให้ราคาก๊าซแอลพีจีในแต่ละพื้นที่มีราคาเท่ากัน โดย บมจ.ปตท. ไม่ได้รับกำไรจากการอุดหนุนค่าขนส่งส่วนนี้แต่อย่างใด