เปิดผลประเมิน 442 หน่วยงาน ผ่านเกณฑ์“คุณธรรม/ความโปร่งใส” ITA ประจำปี 2560” เฉลี่ย 81.53 คะแนน ปตท. กฟผ. เกินเกณฑ์เฉลี่ย

เปิดผลประเมิน 442 หน่วยงาน ปี 60 ผ่านเกณฑ์“คุณธรรม/ความโปร่งใส” เฉลี่ย 81.53 ปตท. กฟผ. เกินเกณฑ์เฉลี่ย



วันนี้(16 พ.ย.) มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวนทั้งสิ้น 422 หน่วยงาน โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 81.53 คะแนน ทั้งนี้จากผลการประเมิน พบว่า องค์กรศาล (เฉพาะหน่วยงานธุรการ) 3 หน่วยงาน พบว่า สำนักงานศาลยุติธรรมได้คะแนนสูงสุด 92.37 สำนักงานศาลปกครอง 88.29 และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 81.79

องค์กรอิสระ 5 หน่วยงาน พบว่า สำนักงาน ป.ป.ช.ได้คะแนนสูงสุด 90.44 และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้คะแนนน้อยสุด 71.20, องค์กรอัยการ พบว่า สำนักงานอัยการสูงสุดได้คะแนน 78.98 ,หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา 2 หน่วยงานคือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้คะแนนใกล้เคียงที่ 82.70 และ 82.94 ตามลำดับ สำหรับสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คะแนน 90.24



สำหรับ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 54 หน่วยงาน พบว่า หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ได้คะแนนสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 97.97 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 97.13 ธนาคารออมสิน 95.79 ส่วนโรงพิมพ์ตำรวจได้คะแนนน้อยสุด 68.80

ส่วนรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นที่จับตา เช่น การบินไทย 87.89 คะแนน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 88.97 คะแนน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 92.63 คะแนน การไฟฟ้านครหลวง 91.93, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 91.47, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 94.39 บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) 85.61 คะแนน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 86.20 คะแนน และ ขสมก. 90.03 คะแนน เป็นต้น”



มีรายงานว่า สำหรับ องค์กรมหาชน 52 หน่วยงาน พบว่าที่ได้คะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 96.55 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 96.43 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 95.14 ส่วนสถาบันอนุญาโตตุลาการ ได้คะแนนน้อยสุด 66.52

ขณะที่ หน่วยงานภาครัฐระดับกรม 147 หน่วยงานพบว่า ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้คะแนนสูงสุด 92.46 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 92.13 สำนักงานกิจการยุติธรรม 91.46 ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้คะแนนน้อยสุด 59.65

นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษา 81 หน่วยงาน พบว่า สถาบันการศึกษาที่ได้คะแนนสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ 87.17 มหาวิทยาลัยรามคำแหง 85.81 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 85.18 ส่วนมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้คะแนนน้อยสุด 57.43

“สถาบันการศึกษา อื่น ที่น่าสนใจ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 80.79 คะแนน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 83.50 คะแนน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 83.11 คะแนน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 80.21 คะแนน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 77.96 คะแนน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73.21 คะแนน เป็นต้น”

ทั้งนี้ 2 องค์กรที่ได้รับผลประเมินน้อยที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 57.43 และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 59.65

สำหรับการประเมินในครั้งนี้ เป็นไปตามกรอบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสออกเป็น 5 ดัชนี 1.ดัชนีความโปร่งใส 2.ดัชนีความพร้อมรับผิด 3.ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน 4.ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และ5.ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน โดยคะแนนประเมินระหว่าง 80 - 100 ถือว่า อยู่ในเกณฑ์คุณธรรมและความโปร่งใสในระดับที่สูงมาก 60 - 79.99 อยู่ในระดับสูง 40 - 59.99 อยู่ในระดับปานกลาง 20 - 39.99 อยู่ในระดับต่ำ 0 - 19.99 อยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งไม่พบว่า มีหน่วยงานใดได้คะแนนในเกณฑ์ต่ำและต่ำมาก



อ่านผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวนทั้งสิ้น 422 หน่วยงาน ฉบับเต็ม  ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (16/11/2560)

ทำดีต้องบอกต่อ ปตท. สนับสนุน โครงการก้าวคนละก้าว

เผยรายชื่อจุดให้กำลังใจ "ตูน บอดี้สแลม" วิ่ง "ก้าวคนละก้าว" ตามปั้มน้ำมัน ปตท. และ มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในโครงการ จำนวนเงิน 2,000,000 บาท


เตรียมรองเท้าวิ่งรอไว้เลย! เผยรายชื่อปั้ม ปตท. ตามเส้นทางที่ตูน บอดี้สแลม วิ่งการกุศล "ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" ตามไปต้อนรับและให้กำลังใจกันได้

รายงานข่าวแจ้งว่า โซเชียลมีเดียของโครงการ "ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" ได้เผยแพร่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ตูน บอดี้สแลม หรือ นายอาทิวราห์ คงมาลัย จะแวะพักแต่ละจุด เรียกว่าจุดเช็กพอยท์ ซึ่งบริเวณดังกล่าวประชาชนสามารถต้อนรับและให้กำลังใจ รวมทั้งขอถ่ายรูปกันได้

วันที่ 13 พ.ย. 2560 

- ปตท. สามหนุ่ม ถนนสิชล-สุราษฎร์ธานี (ทางหลวงหมายเลข 401) ต.สิชล อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

- ปตท. ฤดีเพ็ญ ถนนสิชล-สุราษฎร์ธานี (ทางหลวงหมายเลข 401) ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 17 พ.ย. 2560

- ปตท. หลังสวน ถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 41) อ.หลังสวน จ.ชุมพร

วันที่ 22 พ.ย. 2560

- ปตท. ประจวบคีรีขันธ์ หจก.บางสะพาน ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 30 พ.ย. 2560

- ปตท. จิฟฟี่ ธรรมศาลา ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ต.ธรรมศาลา อ.เมืองฯ จ.นครปฐม

วันที่ 5 ธ.ค. 2560

- ปตท. ภานุสรณ์ ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 340) ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

- ปตท. ฟอร์บีโลจิสติกส์ ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 340) ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

วันที่ 7 ธ.ค. 2560

- ปตท. เค ที ดี ปิโตรเลียม ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ก่อนถึงตัวเมืองนครสวรรค์ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

วันที่ 8 ธ.ค. 2560

- ปตท. เอเชียพิจิตรออยล์ ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) เลยตัวเมืองนครสวรรค์ ต.หนองกระโดน อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์

วันที่ 17 ธ.ค. 2560

- ปตท. หจก.กิจเสรี ถนนไฮเวย์ลำปาง-งาว (ทางหลวงหมายเลข 1) บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารลำปาง ต.สบตุ๋ย อ.เมืองฯ จ.ลำปาง

วันที่ 23 ธ.ค. 2560

- ปตท. แม่กรณ์ ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ก่อนถึงสี่แยกแม่กรณ์ ต.สันทราย อ.เมืองฯ จ.เชียงราย


ข้อมูลสถานที่ และวัน เวลา อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.pttplc.com

รัฐวิสาหกิจที่มียอดเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมประจำปีงบประมาณ 2560 สูงสุด 5 อันดับแรก

รัฐวิสาหกิจที่มียอดเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมประจำปีงบประมาณ 2560 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 30,948 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 26,278 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 21,660 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 13,118 ล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 11,384 ล้านบาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1.62 แสนล้านบาท ** หมายเหตุ ยังไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคล





#รายได้แผ่นดิน #รัฐวิสาหกิจ

-----------------------------------------------------------------

สคร. นำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจปี 2560 "เกินเป้า 24%" ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐวิสาหกิจสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ 1.62 แสนล้านบาท

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายน 2560 สคร. นำส่งเงินรายได้แผ่นดินจำนวน 16,814 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายการจัดเก็บรายได้แผ่นดินจำนวน 8,965 ล้านบาท ส่งผลให้การนำส่งเงินรายได้แผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) จำนวน 162,265 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณประจำปี 2560 จำนวน 31,265 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ซึ่งเป็นการนำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุดในรอบ 15 ปี และมีส่วนรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ

นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุหลักที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดินสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้นซึ่งมีส่วนทำให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจดีขึ้น โดยรัฐวิสาหกิจที่มียอดเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมประจำปีงบประมาณ 2560 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 30,948 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 26,278 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 21,660 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 13,118 ล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 11,384 ล้านบาท

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า สำหรับปีงบประมาณ 2561 สคร. เชื่อมั่นว่าจะสามารถนำส่งรายได้แผ่นดิน จำนวน 137,000 ล้านบาท ตามที่ระบุในเอกสารงบประมาณประจำปี 2561 โดย สคร. ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้แผ่นดินและการสนับสนุน
การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อให้การจัดเก็บรายได้แผ่นดินเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพการคลังให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ภาพ Info โดย น้องปอสาม

ไม่ต้องแปลกใจ กำไร ปตท. มาจากไหน

ถ้าเราเห็นข่าวการประกาศผลกำไร ปตท. แต่ละครั้ง คงสงสัยว่ากำไร ปตท. มาจากไหน


หากพิจารณาจากธุรกิจกลุ่ม ปตท. จะแบ่งออกเป็น
ปตท. ดำเนินการเอง

  • ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
  • ธุรกิจน้ำมัน
  • ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

ปตท. ลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม

  • ธุรกิจสำรวจและผลิต
  • ธุรกิจปิโตรเคมี
  • ธุรกิจการกลั่น
  • ธุรกิจการลงทุนต่างประเทศ


หากเราพิจารณาเนื้อหาจากข่าวแต่ละครั้ง ผลประกอบการของ ปตท. จะมีปัจจัยต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับ (ตัวอย่าง)


  • ผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
  • ราคาปิโตรเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • อัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และมีกำไรจากการป้องกันความเสี่ยงของตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น


หรือแม้กระทั่ง ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงเนื่องจากอิงกับราคาน้ำมันเตาย้อนหลังและค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดจำหน่ายที่ลดลงตามการปรับปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น เป็นต้น

อย่าลืมว่า กำไรเยอะ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นก็ตาม



ส่งท้าย ธุรกิจใดๆ ก็ตาม มีกำไรขาดทุน อยู่ที่มุมมอง หากในคราวที่ประกาศผลกำไร และมีส่วนขาดทุน ก็มีปัจจัยต่างๆ กลับกันนั้นเอง

ที่มาภาพ PTT INSIGHT

สุดคลาสสิก! ย้อนเวลากลับไปชมภาพ 'ปั๊มน้ำมัน' สมัยคุณปู่ คุณย่า

ปัจจุบัน 'ปั๊มน้ำมัน' เป็นมากกว่าการให้บริการน้ำมัน เพียงอย่างเดียว เรียกได้ว่า ปั๊มน้ำมันคือเพื่อนเดินทางอย่างแท้จริง นอกจากจะให้บริการ ห้องน้ำสะอาด หรือแม้กระทั่งห้องอาบน้ำ ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ร้านอาหารทั้งไทย และเทศ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง กาแฟสดยี่ห้อเดียวกัน แต่รสชาติไม่เหมือนกันเลยสักร้าน หรือ แม้กระทั่ง ร้านขายเสื้อผ้า และของโอทอป ก็มีบริการที่ปั๊มน้ำมัน

ปั๊มน้ำมัน 'ตราสามทหาร'

ปั๊มน้ำมันสามทหารในจังหวัดลำพูน เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ปั๊มน้ำมันสามทหาร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามาศึกษา และเยี่ยมชมได้

ในปี พ.ศ.2521 มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานีบริการน้ำมัน ตราสามทหาร มาเป็น ปตท. โดยวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อดำเนินกิจการด้านพลังงานด้วยการพึ่งพาตนเอง เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยประสบวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการอุปโภค-บริโภค ภาพนี้คือ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ปรับเปลี่ยนจากตราสามทหาร ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
สำหรับ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในยุคแรก มีความโดดเด่นอยู่ที่คานสีแดงสดใสตัดกับหลังคาสีน้ำเงิน นอกจากนี้ในช่วงปี พ.ศ.2531 ยังเป็นช่วงปีที่ ปตท. ได้เปิดตัวน้ำมันเบนซินปริมาณสารตะกั่วต่ำที่สุดและค่าออกเทนสูงที่สุดอีกด้วย

ปี พ.ศ.2535 ปตท. เริ่มมีการปรับปรุงโฉมใหม่ ให้บริการในรูปแบบที่เรียกว่า Landor มีหลังคาโค้งมนเป็นเอกลักษณ์ พร้อมเสาลายทางสีน้ำเงินสลับขาว

ปั๊มน้ำมัน หรือ ปั๊มหลอด ในปี พ.ศ. 2544 ที่เทศบาลบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ปั๊มน้ำมันร้าง ที่หยุดให้บริการในภาคใต้ เนื่องจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในปี พ.ศ. 2548

ปั๊มน้ำมันบางจาก ปี พ.ศ. 2547
ปั๊มน้ำมันบางจาก ปัจจุบัน พ.ศ. 2560

ปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ในปี พ.ศ. 2547
ปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ปัจจุบัน
ปั๊มน้ำมันหลอดเช่นนี้ ก็ยังพอมีให้เห็นในต่างจังหวัด
ปั๊มคาลเท็กซ์
ปั๊มซัสโก้
ปั๊ม PTG
ปี พ.ศ.2547 ปตท. ได้เปิดตัวสถานีบริการรูปแบบ PTT Park เป็นแห่งแรกที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. 
(หลังจากการแปรรูป หลังปี 2544 เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)
ล่าสุดปี พ.ศ.2560 ปตท.ได้ยกระดับสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้แนวคิด Care & Safety For All ให้ทุกพื้นที่ของสถานีบริการน้ำมัน ปตท.สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้

ความจริงที่เปิดเผย.. กำไร ปตท. มาจากไหน เอาไปทำไรกัน

ในอาทิตย์ก่อน เห็นตามข่าว ว่ากลุ่ม ปตท. มีการประกาศผลประกอบการประจำปี 59

ที่มาภาพ PTT INSIGHT https://goo.gl/jBOSJG


กำไรดังกล่าว ส่วนมากมาจากที่ ปตท. เข้าไปถือหุ้น โดยส่วนใหญ่ มาจาก PTTGC ที่ได้รับอานิสงค์ส่วนธุรกิจสายโอเลฟินส์กลุ่มเม็ดพลาสติกจะมีราคาสูงขึ้นตามตลาด (ในท้องตลาดไม่ได้มีแต่ PTTGC ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปิโตรเคมี) รวมไปถึง ราคาน้ำมันดิบในตลาดที่มีการปรับตัวสูงขึ้น

จะเห็นได้ว่า กำไรดังกล่าวนั้น ไม่ได้มาจากการขายน้ำมันสำเร็จรูปตามที่มีหลายๆ คนเข้าใจผิดแต่ประการใด (อย่าลืมว่าไม่ได้มีแต่ ปตท. เจ้าเดียวที่ขายน้ำมันเช่นกัน)

อย่างไรก็ดี การที่ ปตท. บริษัทแม่ มีกำไร ก็ส่งผลให้ได้เงินเข้ารัฐเพิ่มขึ้น จากการจ่ายภาษีจากการขายก็ดี รวมไปถึงเงินปันผลก็ดี

และอีกนัยนึง ก็นำเงินจากการที่ได้กำไรดังกล่าว มาลงทุนสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า มีผลดีมากกว่าผลเสีย

ความจริงที่เปิดเผย.. กำไร ปตท. มาจากไหน เอาไปทำไรกัน


ปตท. "ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย" Pride and Treasure of Thailand


PTT = Pride and Treasure of Thailand
ปตท. "ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย"

บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล- อดุลยเดชที่ได้พระราชทาน “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” แก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่ง ปตท. ในฐานะ บริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้น้อมนํามาเป็นแนวทาง ในการดําเนินธุรกิจตลอดมา เพื่อที่จะเป็นองค์กรแห่ง ความภาคภูมิใจและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทย (Pride and Treasure of Thailand) โดยมุ่งมั่น เป็นองค์กรที่ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาพลังงานให้แก่ประเทศ อย่างพอเพียง ทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน ควบคู่ไปกับ การดูแลสังคม ชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม ปตท. ได้ดําเนินธุรกิจให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสม มีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา จนถึง ปลายน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและภูมิคุ้มกัน ให้กับองค์กร โดยยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยง และยึดมั่นการบริหาร จัดการคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ภายใต้วัฒนธรรม การทํางานของพนักงานที่ต้องเป็นทั้ง “คนเก่ง คนดีและมีความรับผิดชอบ”



ปี 2559 นับเป็นอีกปีหนึ่งที่ ปตท. ต้องเผชิญ กับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน และเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเกิดจากราคา สินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ํา การค้าและการลงทุนลดลง การผันผวนของตลาดเงินทั้งจากเศรษฐกิจจีน ที่ชะลอตัวลงและผลการลงประชามติแยกตัวออกจาก สหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit Vote) และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา รวมถึงยังต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาน้ํามัน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ระดับ 22.80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนมกราคม ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี แต่ราคา น้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี 2559 ยังคงต่ำกว่าปี 2558 กลุ่ม ปตท. จึงได้มีการกําหนดยุทธศาสตร์ในการดําเนิน ธุรกิจแบบ 3D คือ 1) Do Now เป็นยุทธศาสตร์ ที่ต้องดําเนินการทันทีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ ภายใต้ความผันผวนของราคาพลังงาน โดยการเพิ่ม ผลผลิต (Productivity Improvement) 2) Decide Now เป็นยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ที่ต้องมีการตัดสินใจลงทุนในกรอบระยะ 3 - 5 ปี เพื่อสร้างการเติบโตจากฐานธุรกิจที่มีอยู่ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการแข่งขัน และความได้เปรียบเชิงธุรกิจของ กลุ่ม ปตท. และ 3) Design Now เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องเตรียม ความพร้อมสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อพัฒนาธุรกิจ ในรูปแบบใหม่ที่มีอัตราการเติบโตสูง (New S-Curve) ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) แสวงหา โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลก (Megatrend) และตอบสนองแนวคิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ของภาครัฐ

ในด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับ ประเทศ ในปี 2559 ปตท. ประสบความสําเร็จในการเจรจา สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ระยะยาวกับคู่ค้า ทําให้สามารถลดต้นทุนการนําเข้า LNG ของประเทศ ตลอดอายุสัญญาลงได้ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และ ปตท. ได้เร่งดําเนินการก่อสร้างคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว แห่งที่ 1 ส่วนขยายจาก 5 เป็น 10 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ต้นปี 2560 อีกทั้งยังได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีให้ขยายเพิ่มเป็น 11.5 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 และก่อสร้างคลังรับก๊าซ ธรรมชาติเหลวแห่งที่ 2 อีก 7.5 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2565

สําหรับธุรกิจน้ำมัน ปตท. ได้ริเริ่มการเปิดสถานี บริการน้ำมันรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “PTT Compact Model” เป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดกะทัดรัด เพื่อกระจายการบริการ สู่ชุมชนบนถนนสายรองอย่างทั่วถึง จํานวน 18 แห่ง และจะขยายเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเป็น Mini Community Mall เพื่อรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง มากขึ้น และ ปตท. ยังใช้ประโยชน์จากการมีเครือข่ายสถานี บริการน้ำมันอยู่ทั่วประเทศสร้างประโยชน์แก่สังคมชุมชน อาทิ การจัดตั้ง “ร้านค้าประชารัฐสุขใจ” ในสถานีบริการ น้ำมัน ปตท. 148 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจําหน่ายสินค้าเกษตร สินค้าวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่เป็นเอกลักษณ์เด่น ของแต่ละชุมชน มีบริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ การจัดตั้งโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” สร้างรายได้ ให้กับชาวนากว่า 108 ล้านบาท การใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เป็นศูนย์รวมในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบ อุทกภัยในภาคใต้ และการดําเนินโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” เพื่อปลูกฝังนิสัยการแยกขยะและนํ รายได้จากการจำหน่าย ขยะที่แยกได้กลับใช้ในการพัฒนาสังคมชุมชนต่อไป ซึ่งผลจากการดําเนินโครงการดังกล่าวมีส่วนทําให้ส่วนแบ่ง ตลาดน้ำมันขายปลีกของ ปตท. ในปี 2559 ยังคงครอง ความเป็นอันดับหนึ่งและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.8 และ ปตท. ยังได้รับรางวัลการเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน และได้รับรางวัล Number One Brand Thailand เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน

ปตท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในทุกพื้นที่ที่ ปตท. เข้าไปดําเนินธุรกิจ โดยการนําองค์ความรู้ จากการดํ เนินธุรกิจ ประสานกับการมีส่วนร่วมของชุมชน มาช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยในปี 2559 สายงานระบบ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้นําองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ใช้พลังงานธรรมชาติมาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ํา ของชุมชนบ้านขนุนคลี่และบ้านภูเตย จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยการพัฒนา “เครื่องตะบันน้ํา (Hydraulic Ram Pump)” เพื่อส่งน้ําจากที่ต่ําขึ้นไปที่สูงและยังสามารถใช้แรงน้ําไหล ผลิตไฟฟ้าให้ชุมชนที่ขาดแคลนได้อีกด้วย และโครงการ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการขยายผลร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อที่จะ นําไปต่อยอด “โครงการเกษตรพอเพียง” ตามแนวพระราชดําริ ที่จะสามารถผันน้ําจากแหล่งน้ําสู่แปลงเกษตรและพื้นที่ป่า ที่ขาดแคลนน้ําต่อไป นอกจากนี้ ปตท. ยังคงมุ่งมั่นที่จะ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยหนึ่งในกิจกรรมดังกล่าวคือการปลูกป่าและฟื้นฟูป่า ซึ่งในปี 2559 ปตท. ได้ส่งมอบพื้นที่ปลูกป่าจํานวน 54,600 ไร่ ให้กับหน่วยงานของรัฐ ทําให้ตั้งแต่ปี 2556 ปตท. ได้ส่งมอบ พื้นที่ปลูกป่าไปแล้ว 208,081 ไร่ จากเป้าหมายคือส่งมอบ 5 แสนไร่ภายในปี 2565 และยังมีโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ อื่น ๆ อีก เช่น โครงการรักษ์น้ํ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า โครงการเมืองน่าอยู่นําร่อง 5 เมือง เป็นต้น นอกจากนี้ โครงการป่าในกรุงของ ปตท. ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ยังได้รับรางวัลออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ดีเด่น ประจําปี 2559 จากสมาคมภูมิสถาปนิกสหรัฐอเมริกาด้วย

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผลประกอบการทางการเงินของ ปตท. ในปี 2559 มีกําไรสุทธิ 94,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74,673 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 แม้ส่วนหนึ่งจะมาจาก การบันทึกมูลค่าการด้อยค่าทางบัญชีที่ลดลงและการบันทึก ผลกําไรจากสต๊อกน้ํามันจากราคาน้ำมันสิ้นปีที่เพิ่มขึ้น จากต้นปี (Stock Gain) รวมกันประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แต่จากราคาเฉลี่ยน้ำมันและปิโตรเคมีที่ปรับตัวลดลงก็ส่งผล ให้รายได้จากการขายของ ปตท. ลดลงเหลือ 1.72 ล้านล้านบาท จาก 2.03 ล้านล้านบาท ในปี 2558 และมาร์จินของธุรกิจ ปิโตรเคมีและการกลั่นก็ลดลงกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่จากการที่ กลุ่ม ปตท. ได้เร่งดำเนินการเพิ่มผลผลิต อย่างจริงจัง จากความทุ่มเทและความร่วมมือของบุคลากร ทั่วทั้ง กลุ่ม ปตท. ทําให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 2.4 หมื่นล้านบาท ประกอบกับการดําเนินธุรกิจของ ปตท. มีการลงทุนในตลอดห่วงโซ่คุณค่าจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา ทําให้ผลประกอบการของ กลุ่ม ปตท. สามารถพลิกฟื้น เร็วกว่าบริษัทน้ำมันชั้นนำหลายแห่งที่ลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ เป็นหลัก

ความสําเร็จในการดําเนินงานของ ปตท. สะท้อนได้ จากรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ อาทิ รางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยม ประจําปี 2559 การได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืน ดาวโจนส์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน รางวัลผู้บริหารสูงสุด ยอดเยี่ยมแห่งปี (The Asset CEO of the Year) ด้านประเภท ธุรกิจน้ำมันและก๊าซ รางวัล Corporate Governance ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ผลประเมินระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นผลมาจากการทุ่มเททางานหนักของทั้งผู้บริหาร และพนักงาน กลุ่ม ปตท. รวมถึงศักยภาพของการบริหารงาน ของคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนการสนับสนุนที่ดี จากผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ในนามของคณะกรรมการ ปตท. ขอขอบคุณผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่ให้ความไว้ใจและสนับสนุน การดําเนินงานของ ปตท. ด้วยดีเสมอมา และขอให้เชื่อมั่นว่า คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร และพนักงาน ปตท. ทุกคน จะมุ่งมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้องค์กร ปตท. เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศ ที่คนไทยทุกคนภูมิใจ ตลอดไป

ที่มา : รายงานประจำปี 2559 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)