ปตท. "ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย" Pride and Treasure of Thailand


PTT = Pride and Treasure of Thailand
ปตท. "ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย"

บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล- อดุลยเดชที่ได้พระราชทาน “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” แก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่ง ปตท. ในฐานะ บริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้น้อมนํามาเป็นแนวทาง ในการดําเนินธุรกิจตลอดมา เพื่อที่จะเป็นองค์กรแห่ง ความภาคภูมิใจและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทย (Pride and Treasure of Thailand) โดยมุ่งมั่น เป็นองค์กรที่ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาพลังงานให้แก่ประเทศ อย่างพอเพียง ทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน ควบคู่ไปกับ การดูแลสังคม ชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม ปตท. ได้ดําเนินธุรกิจให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสม มีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา จนถึง ปลายน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและภูมิคุ้มกัน ให้กับองค์กร โดยยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยง และยึดมั่นการบริหาร จัดการคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ภายใต้วัฒนธรรม การทํางานของพนักงานที่ต้องเป็นทั้ง “คนเก่ง คนดีและมีความรับผิดชอบ”



ปี 2559 นับเป็นอีกปีหนึ่งที่ ปตท. ต้องเผชิญ กับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน และเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเกิดจากราคา สินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ํา การค้าและการลงทุนลดลง การผันผวนของตลาดเงินทั้งจากเศรษฐกิจจีน ที่ชะลอตัวลงและผลการลงประชามติแยกตัวออกจาก สหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit Vote) และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา รวมถึงยังต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาน้ํามัน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ระดับ 22.80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนมกราคม ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี แต่ราคา น้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี 2559 ยังคงต่ำกว่าปี 2558 กลุ่ม ปตท. จึงได้มีการกําหนดยุทธศาสตร์ในการดําเนิน ธุรกิจแบบ 3D คือ 1) Do Now เป็นยุทธศาสตร์ ที่ต้องดําเนินการทันทีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ ภายใต้ความผันผวนของราคาพลังงาน โดยการเพิ่ม ผลผลิต (Productivity Improvement) 2) Decide Now เป็นยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ที่ต้องมีการตัดสินใจลงทุนในกรอบระยะ 3 - 5 ปี เพื่อสร้างการเติบโตจากฐานธุรกิจที่มีอยู่ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการแข่งขัน และความได้เปรียบเชิงธุรกิจของ กลุ่ม ปตท. และ 3) Design Now เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องเตรียม ความพร้อมสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อพัฒนาธุรกิจ ในรูปแบบใหม่ที่มีอัตราการเติบโตสูง (New S-Curve) ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) แสวงหา โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลก (Megatrend) และตอบสนองแนวคิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ของภาครัฐ

ในด้านการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับ ประเทศ ในปี 2559 ปตท. ประสบความสําเร็จในการเจรจา สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ระยะยาวกับคู่ค้า ทําให้สามารถลดต้นทุนการนําเข้า LNG ของประเทศ ตลอดอายุสัญญาลงได้ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และ ปตท. ได้เร่งดําเนินการก่อสร้างคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว แห่งที่ 1 ส่วนขยายจาก 5 เป็น 10 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ต้นปี 2560 อีกทั้งยังได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีให้ขยายเพิ่มเป็น 11.5 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 และก่อสร้างคลังรับก๊าซ ธรรมชาติเหลวแห่งที่ 2 อีก 7.5 ล้านตันต่อปี ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2565

สําหรับธุรกิจน้ำมัน ปตท. ได้ริเริ่มการเปิดสถานี บริการน้ำมันรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “PTT Compact Model” เป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดกะทัดรัด เพื่อกระจายการบริการ สู่ชุมชนบนถนนสายรองอย่างทั่วถึง จํานวน 18 แห่ง และจะขยายเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเป็น Mini Community Mall เพื่อรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง มากขึ้น และ ปตท. ยังใช้ประโยชน์จากการมีเครือข่ายสถานี บริการน้ำมันอยู่ทั่วประเทศสร้างประโยชน์แก่สังคมชุมชน อาทิ การจัดตั้ง “ร้านค้าประชารัฐสุขใจ” ในสถานีบริการ น้ำมัน ปตท. 148 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจําหน่ายสินค้าเกษตร สินค้าวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่เป็นเอกลักษณ์เด่น ของแต่ละชุมชน มีบริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ การจัดตั้งโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” สร้างรายได้ ให้กับชาวนากว่า 108 ล้านบาท การใช้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. เป็นศูนย์รวมในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบ อุทกภัยในภาคใต้ และการดําเนินโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” เพื่อปลูกฝังนิสัยการแยกขยะและนํ รายได้จากการจำหน่าย ขยะที่แยกได้กลับใช้ในการพัฒนาสังคมชุมชนต่อไป ซึ่งผลจากการดําเนินโครงการดังกล่าวมีส่วนทําให้ส่วนแบ่ง ตลาดน้ำมันขายปลีกของ ปตท. ในปี 2559 ยังคงครอง ความเป็นอันดับหนึ่งและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.8 และ ปตท. ยังได้รับรางวัลการเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน และได้รับรางวัล Number One Brand Thailand เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน

ปตท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในทุกพื้นที่ที่ ปตท. เข้าไปดําเนินธุรกิจ โดยการนําองค์ความรู้ จากการดํ เนินธุรกิจ ประสานกับการมีส่วนร่วมของชุมชน มาช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยในปี 2559 สายงานระบบ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้นําองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ใช้พลังงานธรรมชาติมาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ํา ของชุมชนบ้านขนุนคลี่และบ้านภูเตย จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยการพัฒนา “เครื่องตะบันน้ํา (Hydraulic Ram Pump)” เพื่อส่งน้ําจากที่ต่ําขึ้นไปที่สูงและยังสามารถใช้แรงน้ําไหล ผลิตไฟฟ้าให้ชุมชนที่ขาดแคลนได้อีกด้วย และโครงการ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการขยายผลร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อที่จะ นําไปต่อยอด “โครงการเกษตรพอเพียง” ตามแนวพระราชดําริ ที่จะสามารถผันน้ําจากแหล่งน้ําสู่แปลงเกษตรและพื้นที่ป่า ที่ขาดแคลนน้ําต่อไป นอกจากนี้ ปตท. ยังคงมุ่งมั่นที่จะ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยหนึ่งในกิจกรรมดังกล่าวคือการปลูกป่าและฟื้นฟูป่า ซึ่งในปี 2559 ปตท. ได้ส่งมอบพื้นที่ปลูกป่าจํานวน 54,600 ไร่ ให้กับหน่วยงานของรัฐ ทําให้ตั้งแต่ปี 2556 ปตท. ได้ส่งมอบ พื้นที่ปลูกป่าไปแล้ว 208,081 ไร่ จากเป้าหมายคือส่งมอบ 5 แสนไร่ภายในปี 2565 และยังมีโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ อื่น ๆ อีก เช่น โครงการรักษ์น้ํ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า โครงการเมืองน่าอยู่นําร่อง 5 เมือง เป็นต้น นอกจากนี้ โครงการป่าในกรุงของ ปตท. ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ยังได้รับรางวัลออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ดีเด่น ประจําปี 2559 จากสมาคมภูมิสถาปนิกสหรัฐอเมริกาด้วย

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผลประกอบการทางการเงินของ ปตท. ในปี 2559 มีกําไรสุทธิ 94,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74,673 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 แม้ส่วนหนึ่งจะมาจาก การบันทึกมูลค่าการด้อยค่าทางบัญชีที่ลดลงและการบันทึก ผลกําไรจากสต๊อกน้ํามันจากราคาน้ำมันสิ้นปีที่เพิ่มขึ้น จากต้นปี (Stock Gain) รวมกันประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แต่จากราคาเฉลี่ยน้ำมันและปิโตรเคมีที่ปรับตัวลดลงก็ส่งผล ให้รายได้จากการขายของ ปตท. ลดลงเหลือ 1.72 ล้านล้านบาท จาก 2.03 ล้านล้านบาท ในปี 2558 และมาร์จินของธุรกิจ ปิโตรเคมีและการกลั่นก็ลดลงกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่จากการที่ กลุ่ม ปตท. ได้เร่งดำเนินการเพิ่มผลผลิต อย่างจริงจัง จากความทุ่มเทและความร่วมมือของบุคลากร ทั่วทั้ง กลุ่ม ปตท. ทําให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 2.4 หมื่นล้านบาท ประกอบกับการดําเนินธุรกิจของ ปตท. มีการลงทุนในตลอดห่วงโซ่คุณค่าจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา ทําให้ผลประกอบการของ กลุ่ม ปตท. สามารถพลิกฟื้น เร็วกว่าบริษัทน้ำมันชั้นนำหลายแห่งที่ลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ เป็นหลัก

ความสําเร็จในการดําเนินงานของ ปตท. สะท้อนได้ จากรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ อาทิ รางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยม ประจําปี 2559 การได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืน ดาวโจนส์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน รางวัลผู้บริหารสูงสุด ยอดเยี่ยมแห่งปี (The Asset CEO of the Year) ด้านประเภท ธุรกิจน้ำมันและก๊าซ รางวัล Corporate Governance ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ผลประเมินระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นผลมาจากการทุ่มเททางานหนักของทั้งผู้บริหาร และพนักงาน กลุ่ม ปตท. รวมถึงศักยภาพของการบริหารงาน ของคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนการสนับสนุนที่ดี จากผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ในนามของคณะกรรมการ ปตท. ขอขอบคุณผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่ให้ความไว้ใจและสนับสนุน การดําเนินงานของ ปตท. ด้วยดีเสมอมา และขอให้เชื่อมั่นว่า คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร และพนักงาน ปตท. ทุกคน จะมุ่งมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้องค์กร ปตท. เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศ ที่คนไทยทุกคนภูมิใจ ตลอดไป

ที่มา : รายงานประจำปี 2559 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)